วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

งานที่ 5 ระบบควบคุณภาพในสถานประกอบการ

มาตรฐาน ISO 9001


ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร
ISO 9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001:2015 มีการเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องการทำความเข้าใจกับองค์กรและบริบทองค์กร การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กรและมาตรฐาน ISO อื่น
ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน สามารถนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงและบุคลากร จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเสียงได้ ยิ่งกว่านี้ ISO 9001:2015 ใช้โครงสร้างของข้อกำหนดตาม Annex SL ในปัจจุบันมีมาตรฐานที่มีโครงสร้างนี้เช่น ISO 14001:2015, ISO 22301:2012 และ ISO 27001:2013 เป็นต้น ซึ่งในอนาคต มาตรฐาน ISO ทุกฉบับก็จะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบ Annex SL เหมือนกันทำให้การดำเนินการบูรณาการ (Integrate) มาตรฐานต่างๆได้ง่ายมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร
  • มีการบริหารเชิงกลยุทธและการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
  • มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีคุณภาพสินค้าที่ดีสม่ำเสมอและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • มีระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น
  • มีการจัดการความรู้ขององค์กร
  • เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
  • เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • มีโครงสร้างมาตรฐานที่บูรณาการ (Integrate) มาตรฐานต่างๆได้ง่ายมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร
  • ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
  • การจัดการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • บรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
The Principles of Quality Management
QMP 1  : การให้ความสำคัญกับลูกค้า Customer Focus
QMP 2  : ความเป็นผู้นำ Leadership
QMP 3  : การมีส่วนร่วมของบุคลากร Engagement of People
QMP 4  : การบริหารเชิงกระบวนการ Process Approach
QMP 5  : การปรับปรุง Improvement
QMP 6  : การตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักฐาน Evidence-base Decision Making
QMP 7  : การบริหารความสัมพันธ์ Relationship Management

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

งานที่ 4 การจัดความขัดแย้งในองค์กร

การจัดความขัดแย้งในองค์กร


     
          ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์ที่ทำให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจ หรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายได้ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มประสบปัญหาของการตัดสินใจ ความขัดแย้งจึงเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตร เป็นความตึงเครียดซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน อาจเกิดขึ้นได้ในบุคคลคนเดียว ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม เทคนิควิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร

 การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องกล้าเผชิญกับปัญหาและหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม โดยพยายามลดอคติส่วนตัวลง การนำแนวคิดเชิงบูรณาการมาใช้ในการหาทางออกให้แก่ตนเองและอีกฝ่ายหนึ่ง
 ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย (Understand each other’s position) เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย
 ระบุปัญหา (Identify the problem) โดยที่แต่ละฝ่ายต้องสร้างความชัดเจนของปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากมากที่สุด เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างก็มุ่งเอาชนะ นำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารต้องตระหนักในการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ร่วมกันแก้ปัญหา ให้ความเคารพต่อตนเองและฝ่ายตรงกันข้าม ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายรับ ผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
 แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก (Search for appropriate alternatives and evaluation) โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ
 สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ (Conclusion and implement the appropriate alternatives) โดยให้แต่ละฝ่ายรับรู้ในข้อตกลงนั้นๆ แล้วนำข้อตกลงไปปฏิบัติ ซึ่งอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม การเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับปรุงทางเลือกและข้อตกลงเพื่อให้เป็นที่พึงพอใจกับทุกฝ่าย ทั้งนี้ผู้บริหารอาจเลือกวิธีการหรือเทคนิคที่จะจัดการหรือบริหารความขัดแย้งในองค์กรเพื่อหาแนวทางแก้ไขและหาเหตุผล

งานที่ 3 กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง


กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง

นแผนก Machine Shop ฝั่ง Mechanic

สวมใส่รองเท้า Safety สวมแว่นตาในการขึ้นเครื่องกลึง เครื่องเจียร และเครื่องตัดแบบใบเลื่อย
สวมหูฟังทุกครั้งที่ใช้เครื่องจักร

 






                  





งานที่ 2 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร


กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง

  สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป นศ.ได้เก็บและแยกอุปกรณ์ต่างๆให้แบบสัดส่วน



สะดวก Seiton (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที นศ.ได้ทำช่องแบ่งเก็บอุปกรณ์ ให้มีการหยิบใช้ไดง่ายขึ้น



 สะอาด Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ นศ.ได้มีการกวาดและเช็ดถูก่อนพักเที่ยงและเลิกงาน
 

สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป นศ.ได้มีส่วนร่วมในการเก็บกวาดและซ้อมพื้นเพื่อให้คงสะอาดตลอด
 สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย นศ.ได้มีส่วนร่วมทุกครั้งเมื่อถึงเวลา

งานที่ 1 ผังโครงสร้างองค์กร ในสถานที่ฝึกงาน


 ผังโครงสร้างองค์กร ในสถานที่ฝึกงาน




โครงสร้างองค์กรจัดแบ่งกัน ตามหน้าที่การทำงาน

          มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยป้อนข้อมูลที่ถูกต้องให้พิจารณาตัดสินใจและให้มีความผิดพลาดได้น้อยมาก อีกประการหนึ่งในแต่ละแผนกนั้น เมื่อทุกคนมีความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่ชนิดเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดการประสานงานได้ง่ายเนื่องจากแต่ละคนมีความสนใจในงานและใช้ภาษาเดียวกัน ทำให้สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีได้ง่ายนอกจากนั้น การบริหารงานก็เกิดความประหยัดด้วย เพราะแต่ละแผนกได้ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลิตผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้เครื่องจักรและแรงงานก็ใช้ได้ผลคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การจัดรูปแบบองค์การแบบนี้ก็มีผลเสียในทางการบริหารหลายประการ อาทิเช่น การแบ่งงานออกเป็นหลายแผนกและมีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทำให้การวางแผนงานยุ่งยากขึ้น อาจมีการปัดความรับผิดชอบได้ นอกจากนั้นการจัดองค์การรูปแบบนี้มักเน้นที่การรวมอำนาจไว้ ณ จุดที่สูงที่สุด ไม่มีการกระจายอำนาจในการบริหารให้ลดหลั่นลงไป


วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Mini Project


Mini Project 

LED RGB CUBE 3x3x3






บล็อกไดอะแกรม







Software



int led1_red   = 3;              // กำหนดให้ led1_red ใช้ขาที่ 3
int led1_green = 4;            // กำหนดให้ led1_green ใช้ขาที 4  
int led1_blue  = 5;            // กำหนดให้ led1_blue ใช้ขาที่ 5


int led2_red   = 6;              // กำหนดให้ led2_red ใช้ขาที่ 6
int led2_green = 7;           // กำหนดให้ led2_green ใช้ขาที่ 7
int led2_blue  = 8;            // กำหนดให้ led2_blue ใช้ขาที่ 8


int led3_red   = 9;            // กำหนดให้ led3_red ใช้ขาที่ 9 
int led3_green = 10;         // กำหนดให้ led3_green ใช้ขาที่ 10   
int led3_blue  = 11;         // กำหนดให้ led3_blue ใช้ขาที่ 11  

int sw1 = 12;
int SW2;                           // กำหนดให้ sw1 ใช้ขาที่ 12   

void setup() {
  Serial.begin(9600);
  pinMode(led1_red,OUTPUT);     
  pinMode(led1_green,OUTPUT);
  pinMode(led1_blue,OUTPUT);

  pinMode(led2_red,OUTPUT);
  pinMode(led2_green,OUTPUT);
  pinMode(led2_blue,OUTPUT);

  pinMode(led3_red,OUTPUT);     // กำหนดให้ led1_red,led2_red,led3_red เป็น OUTPUT
  pinMode(led3_green,OUTPUT);  // กำหนดให้ led1_green,led2_green,led3_green เป็น OUTPUT  
  pinMode(led3_blue,OUTPUT);    // กำหนดให้ led1_blue,led2_blue,led3_blue เป็น OUTPUT

  pinMode(sw1,INPUT);           // กำหนดให้ sw1 เป็น INPUT

}

void loop() {
  SW2= digitalRead(sw1);
  Serial.println(SW2); 
   if (SW2 == 1){              // ถ้า sw1 = 1 ให้ทำต่อ
     LEDRED1();                 
     delay(500);
     LEDGREEN1();
     delay(500);
     LEDBLUE1();
     delay(500);
     LEDRED2();
     delay(500);
     LEDGREEN2();
     delay(500);
     LEDBLUE2();
     delay(500);
     LEDRED3();            // ให้ LEDRED1,LEDRED2,LEDRED3 ทำงาน       
     delay(500);              // หน่วงเวลา 0.5 วิ  
     LEDGREEN3();     // ให้ LEDGREEN1,LEDGREEN2,LEDGREEN3 ทำงาน         
     delay(500);             // หน่วงเวลา 0.5 วิ
     LEDBLUE3();        // ให้ LEDBLUE1,LEDBLUE2,LEDBLUE3 ทำงาน    
     delay(500);             // หน่วงเวลา 0.5 วิ  
 
}
  else                         // ถ้าไม่ใช่
  {
    LEDRED();          // ให้ LEDRED ทำงาน       
   delay (500);           // หน่วงเวลา 0.5 วิ    
   LEDGREEN();     // ให้ LEDGREEN ทำงาน         
   delay (500);          // หน่วงเวลา 0.5 วิ     
   LEDBLUE();       // ให้ LEDBLUE ทำงาน          
   delay (500);         // หน่วงเวลา 0.5 วิ     
  }
  }

void LEDRED(){
  digitalWrite(led1_red,HIGH);
  digitalWrite(led1_green,LOW);
  digitalWrite(led1_blue,LOW);
  digitalWrite(led2_red,HIGH);
  digitalWrite(led2_green,LOW);
  digitalWrite(led2_blue,LOW);
  digitalWrite(led3_red,HIGH);        // เขียน led1_red,led2_red,led3_red เป็น HIGH
  digitalWrite(led3_green,LOW);     // เขียน led1_green,led2_green,led3_green เป็น LOW
  digitalWrite(led3_blue,LOW);       // เขียน led1_blue,led2_blue,(led3_blue เป็น LOW
}

void LEDGREEN(){
  digitalWrite(led1_red,LOW);
  digitalWrite(led1_green,HIGH);
  digitalWrite(led1_blue,LOW);
  digitalWrite(led2_red,LOW);
  digitalWrite(led2_green,HIGH);
  digitalWrite(led2_blue,LOW);
  digitalWrite(led3_red,LOW);          // เขียน led1_red,led2_red,led3_red เป็น LOW
  digitalWrite(led3_green,HIGH);    // เขียน led1_green,led2_green,led3_green เป็น HIGH
  digitalWrite(led3_blue,LOW);        // เขียน led1_blue,led2_blue,(led3_blue เป็น LOW
}

void LEDBLUE(){
  digitalWrite(led1_red,LOW);
  digitalWrite(led1_green,LOW);
  digitalWrite(led1_blue,HIGH);
  digitalWrite(led2_red,LOW);
  digitalWrite(led2_green,LOW);
  digitalWrite(led2_blue,HIGH);
  digitalWrite(led3_red,LOW);         // เขียน led1_red,led2_red,led3_red เป็น LOW
  digitalWrite(led3_green,LOW);     // เขียน led1_green,led2_green,led3_green เป็น LOW
  digitalWrite(led3_blue,HIGH);      // เขียน led1_blue,led2_blue,(led3_blue เป็น HIGH
}
void LEDRED1(){
  digitalWrite(led1_red,HIGH);   // เขียน led1_red เป็น HIGH
  digitalWrite(led2_red,LOW);    // เขียน led2_red เป็น LOW
  digitalWrite(led3_red,LOW);    // เขียน led3_red เป็น LOW
}
void LEDRED2(){
  digitalWrite(led1_red,LOW);   // เขียน led1_red เป็น LOW
  digitalWrite(led2_red,HIGH);  // เขียน led2_red เป็น HIGH
  digitalWrite(led3_red,LOW);   // เขียน led3_red เป็น LOW
}
void LEDRED3(){
  digitalWrite(led1_red,LOW);   // เขียน led1_red เป็น LOW
  digitalWrite(led2_red,LOW);   // เขียน led2_red เป็น LOW
  digitalWrite(led3_red,HIGH);  // เขียน led3_red เป็น HIGH 
}
void LEDGREEN1(){
  digitalWrite(led1_green,HIGH);   // เขียน led1_green เป็น HIGH
  digitalWrite(led2_green,LOW);    // เขียน led2_green เป็น LOW
  digitalWrite(led3_green,LOW);    // เขียน led3_green เป็น LOW
}
void LEDGREEN2(){
  digitalWrite(led1_green,LOW);    // เขียน led1_green เป็น LOW
  digitalWrite(led2_green,HIGH);   // เขียน led2_green เป็น HIGH
  digitalWrite(led3_green,LOW);    // เขียน led3_green เป็น LOW
}
void LEDGREEN3(){
  digitalWrite(led1_green,LOW);    // เขียน led1_green เป็น LOW
  digitalWrite(led2_green,LOW);    // เขียน led2_green เป็น LOW
  digitalWrite(led3_green,HIGH);   // เขียน led3_green เป็น HIGH
}
void LEDBLUE1(){
  digitalWrite(led1_blue,HIGH);     // เขียน led1_blue เป็น HIGH
  digitalWrite(led2_blue,LOW);      // เขียน led2_blue เป็น LOW
  digitalWrite(led3_blue,LOW);      // เขียน led3_blue เป็น LOW
}
void LEDBLUE2(){
  digitalWrite(led1_blue,LOW);       // เขียน led1_blue เป็น LOW
  digitalWrite(led2_blue,HIGH);     // เขียน led2_blue เป็น HIGH
  digitalWrite(led3_blue,LOW);       // เขียน led3_blue เป็น LOW

}
void LEDBLUE3(){
  digitalWrite(led1_blue,LOW);    // เขียน led1_blue เป็น LOW
  digitalWrite(led2_blue,LOW);   // เขียน led2_blue เป็น LOW
  digitalWrite(led3_blue,HIGH);  // เขียน led3_blue เป็น HIGH
}



ลิงก์วิดีโอตัวอย่าง  https://youtu.be/oDJ-wighUXg
                                                                 







วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปรับคะแนน


 

Arduino Based Automation ผ่าน Bluetooth


 Hardware  
  Input
  • Module Bluetooh HC - 05         
  Output
  • Relay 12V 4 ตัว
  • หลอดไฟ 12V 4 หลอด

 Software

#include <SoftwareSerial.h>                                 // เรียกใช้ไลบารี่

const int rxPin = 4;                                                // กำหนด rxPin ใช้ขา 4
const int txPin = 2;                                                // กำหนด txPin ใช้ขา 2             

SoftwareSerial mySerial(rxPin, txPin);                 // ตั้งค่าข้อมูล

const int Loads[] = {9, 10, 11, 12};                       // กำหนด Loads = 9,10,11,12

int state = 0;                                                           // ตั้ง state = 0
int flag = 0;                                                            // ตั้ง flag = 0

void setup() 
{
   for (int i=0;i<4;i++)                                           // กำหนด i=0 ถ้า i น้อยกว่า 4 ให้ i บวกเพิ่ม    
    {
      pinMode(Loads[i], OUTPUT);                       // กำหนด Loads[i] เป็น OUTPUT
    }
   mySerial.begin(9600);                                       // ความเร็บในการรับ-ส่งข้อมูล 9600
   for (int i=0;i<4;i++)                                           // กำหนด i=0 ถ้า i น้อยกว่า 4 ให้ i บวกเพิ่ม
    {
      digitalWrite(Loads[i], LOW);                        // เขียน Loads[i] = LOW โดยใช้วนลูป for
    }
   
}

void loop() 
{
    
    if(mySerial.available() > 0)                             // ถ้า mySerial.available มากกว่า 0
    {
      state = mySerial.read();                                 // state = mySerial.read
      flag=0;                                                           // flag = 0 
    }
    
    switch(state)                                                    // ให้ switch รับค่าจาก state
    {
      case '0':digitalWrite(Loads[0], HIGH);         // กรณี 0 ให้ Loads[0] เป็น HIGH
               flag=1;                                                  // flag = 1
               break;                                                    // หยุด
      case '1':digitalWrite(Loads[0], LOW);          // กรณี 1 ให้ Loads[0] เป็น LOW
               flag=1;                                                  // flag = 1
               break;                                                    // หยุด
      case '2':digitalWrite(Loads[1], HIGH);         // กรณี 2 ให้ Loads[1] เป็น HIGH
               flag=1;                                                  // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
      case '3':digitalWrite(Loads[1], LOW);         // กรณี 3 ให้ Loads[1] เป็น LOW
               flag=1;                                                 // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
      case '4':digitalWrite(Loads[2], HIGH);        // กรณี 4 ให้ Loads[2] เป็น HIGH
               flag=1;                                                 // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
      case '5':digitalWrite(Loads[2], LOW);         // กรณี 5 ให้ Loads[2] เป็น LOW
               flag=1;                                                 // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
      case '6':digitalWrite(Loads[3], HIGH);        // กรณี 6 ให้ Loads[3] เป็น HIGH
               flag=1;                                                 // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
      case '7':digitalWrite(Loads[3], LOW);         // กรณี 1 ให้ Loads[0] เป็น LOW
               flag=1;                                                 // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
      case '8':digitalWrite(Loads[0], LOW);         // กรณี 8 ให้ Loads[0] เป็น LOW
               digitalWrite(Loads[1], LOW);            // ให้ Loads[1] เป็น LOW
               digitalWrite(Loads[2], LOW);            // ให้ Loads[2] เป็น LOW
               digitalWrite(Loads[3], LOW);            // ให้ Loads[3] เป็น LOW
               flag=1;                                                 // flag = 1
               break;                                                   // หยุด
     }
}


FlowChart






งานที่ 5 ระบบควบคุณภาพในสถานประกอบการ

มาตรฐาน ISO 9001 ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการ...